ข้อมูลทั่วไปของชุมชน
โรงเรียนปริยัติธีรวิทยา
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ใกล้กับวิทยาลัยสารพัดช่างและศาลเจ้าพ่อหลักเมืองโดยเฉพาะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์
ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไปจึงทำให้สภาพชุมชนเป็นชุมชนเมืองอย่างเด่นชัดประชาชนบริเวณรอบมีมากกว่า
2,000
คนซึ่งมีอาชีพหลากหลายและประชาชนในชุมชนไม่ได้เป็นผู้ปกครองของนักเรียน
เพราะนักเรียนทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ต่างอำเภอและต่างจังหวัด
เดินทางเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาแห่งนี้
ด้านทิศเหนืออยู่ติดกับตลาดสดทำให้นักเรียนสามารถที่จะศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้วิชาการงานอาชีพได้หลากหลายนอกเหนือจากที่ทางโรงเรียนจัดให้มีศักยภาพเพียงพอ
ด้านทิศใต้อยู่ติดกับวิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์
ด้านทิศตะวันออกอยู่ติดกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
การที่โรงเรียนตั้งอยู่ในท่ามกลางชุมชนที่มีความเจริญด้านการศึกษา และด้านอื่นๆ
โดยเฉพาะวัดที่อยู่ภายในตำบลในเมืองบุรีรัมย์
ได้ให้ความอุปถัมภ์ด้านที่อยู่อาศัยของนักเรียนมาโดยตลอดสภาพชุมชนจึงเอื้อต่อการจัดการศึกษา
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
1.1 ชื่อสถานศึกษาโรงเรียนปริยัติธีรวิทยาตั้งอยู่ที่วัดกลาง
พระอารามหลวงตำบลในเมืองอำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์รหัสไปรษณีย์31000
E-mail:
webmaster@theerawitthaya.org
website www.theerawitthaya.org
สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา32
1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่1ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่6
1.3 มีเขตพื้นที่ติดต่อ
ทิศเหนือ อยู่ติดกับตลาดสดบุรีรัมย์
ทิศใต้ อยู่ติดกับวิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก อยู่ติดกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ทิศตะวันตก ติดกับถนนสุนทรเทพ
โรงเรียนปริยัติธีรวิทยา ตั้งอยู่วัดกลาง
พระอารามหลวง ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ปีพุทธศักราช2529
โรงเรียนได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 3 มุขคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง
ขนาดความยาว 49 เมตร กว่าง 9 เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2533
สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 2,800,000 บาท ( สองล้านแปดแสนบาท )
โดยอาศัยงบประมาณจากอนุโมทนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
และตั้งชื่ออาคารเรียนหลังนี้ว่า“โรงเรียนปริยัติธีรวิทยา”เพื่อเป็นเกียรติคุณแด่พระครูธีรคุณาธารเจ้าอาวาสวัดกลาง
ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและเอาใจใส่ในการศึกษาของพระภิกษุสามเณร
และเยาวชนของชาติผู้พลาดโอกาสทางการศึกษาที่รัฐจัดให้
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.
2530 ตามใบอนุญาตจัดตั้งเลขที่ 14/2530 โดยมีพระครูธีรคุณาธาร เจ้าอาวาสวัดกลาง
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองบุรีรัมย์ สมัยนั้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการ และครูใหญ่
ต่อมาโรงเรียนได้ขออนุญาตจาก กรมการศาสนา ขยายชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เนื่องจากในตอนต้น กรมการศาสนา
มีนโยบายให้เปิดเพียงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเท่านั้น
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓พระครูธีรคุณธาร (สุพจน์ โชติญาโณ)
มองเห็นว่าพระภิกษุและสามเณรที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ - ๓)
ไม่สามารถเดินทางไปศึกษาต่อกับโรงเรียน ที่มีในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้
จึงขออนุญาตกับกรมการศาสนาขยายห้องเรียนขึ้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ –
๖) โดยมอบหมายให้ พระมหาคำรบ คมฺภีรปญฺโญ น.ธ.เอก, ป.ธ.
๗, ศษ.บ. เป็นครูใหญ่ เป็นผู้ดำเนินการในขณะนั้น
แทนพระครูธีรคุณาธารที่ได้ลาออกเนื่องจากมีภารกิจหน้าที่ต่างๆ มากมาย
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๗พระครูธีรคุณาธาร
(สุพจน์ โชติญาโณ) แต่งตั้ง พระมหาปราจีน ปิยทสฺสี
น.ธ.เอก, ป.ธ. ๔
เป็นครูใหญ่
ต่อมาได้เดินทางศึกษาต่างประเทศ ณ ประเทศอินเดีย
พุทธศักราช ๒๕๔๐พระสุธีปริยัตยาภรณ์ (สุพจน์ โชติญาโณ) สมณศักดิ์ในขณะนั้น แต่งตั้ง พระมหาบุญถิ่น ปุญฺญสิริ น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ.
(การสอนสังคมศึกษา) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนปริยัติธีรวิทยา ท่านมองเห็นว่าพระภิกษุและสามเณรมีจำนวนมากขึ้น จึงขยายอาคารเรียนเพิ่มขึ้น พุทธศักราช ๒๕๔๓ ขยายอาคารเรียนบนศาลาหอพระไตร
จำนวน ๙ ห้อง พุทธศักราช ๒๕๕๐ สร้างอาคารห้องประชุม ๒ ชั้น สำหรับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณรพร้อมกับเป็นห้องประชุมของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งในขณะนั้น พระราชปริยัติกวี (สุพจน์ โชติญาโณ) ได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์
จึงมองเห็นว่าคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ต้องมีอาคารเป็นห้องประชุม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้มีการสร้างอาคารเรียน
๓ ชั้น ขึ้นอีกหลัง สำหรับใช้เป็นอาคารเรียน ๒ ชั้น ส่วนชั้นที่ ๓ เป็นห้องปฏิบัติธรรมและห้องประชุมของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
ปีพุทธศักราช2544
ได้มีการขยายห้องเรียนโดยการปรับปรุงต่อเติมศาลาหอพระไตรปิฎกจำนวน 11
ห้องเรียนขยายห้องคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต ปรับปรุงห้องสมุดและห้องวิทยาศาสตร์
จัดครูอาจารย์ออกแนะแนวตามหมู่บ้าน ตำบล อำเภอต่าง ๆ
และประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุ ได้มีนักเรียนเข้ามาบวชเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ทำให้โรงเรียนมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐สร้างอาคารห้องประชุม ๒ ชั้น
สำหรับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณรพร้อมกับเป็นห้องประชุมของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
ซึ่งในขณะนั้น พระราชปริยัติกวี (สุพจน์ โชติญาโณ)
ได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์
จึงมองเห็นว่าคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ต้องมีอาคารเป็นห้องประชุม
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ได้มีการสร้างอาคารเรียน ๓ ชั้น ขึ้นอีกหลัง
สำหรับใช้เป็นอาคารเรียน ๒ ชั้น ส่วนชั้นที่ ๓
เป็นห้องปฏิบัติธรรมและห้องประชุมของคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์
ปีพุทธศักราช ๒๕๖๑พระเทพปริยัตยาจารย์ (สุพจน์ โชติญาโณ) ขอยื่นคำขอแต่งตั้ง
พนักงานศาสนการด้านการศึกษา แต่งตั้ง พระครูสังฆรักษ์ปรีญาวัฒน์ จนฺทสาโร ป.ธ.๓,
กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนปริยัติธีรวิทยา
ต่อผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
ท่านมองเห็นความสำคัญของพระภิกษุและสามเณร ในด้านการศึกษาพัฒนาเรียนรู้
และสนับสนุนการปฏิบัติธรรม จึงได้จัดชื่อที่ ดินและสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ๒ ชั้น
คอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งหลังขนาดความยาว ๔๐ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร ด้วยงบประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกล้านบ้านถ้วน)
โรงเรียนปริยัติธีรวิทยาปัจจุบันสังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เมื่อพุทธศักราช
๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบันนี้
|